วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

  มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต


1.   ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
  2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
  3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
 4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
 5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
 6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
    9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ


สู้เพื่อแม่

สู้เพื่อแม่



Image



เรียงความวันแม่ : ร้อยคำรักว่า รักแม่

คำสั้นๆที่เรียกว่า แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไปก็คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ และ ลูก แม่
เป็นผู้ให้กำเนิด ผู้มีพระคุณต่อลูก คอยดูแลเอาใจใส่ลูก และสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี ถือได้ว่าเป็นครูคนแรกของลูกๆ นั้นเป็นความรักที่แท้จริง
จากแม่ที่มีให้ลูก หาความรักนี้จากที่ไหนไม่ได้ นอกจาก “ผู้เป็นแม่
แม่ หรือว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่า “แม่” โดยทั่วไปแล้ว คำว่าแม่ แต่ละภาษามักจะใช้อักษร “ม” เหมือนกันหมด เช่น คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “แม่” ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มาเธอร์ (Mother)” หรือ “มัม (Mom)”
ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มารดา” ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาตา” คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ม่าม้า” (แต้จิ๋ว) จีนกลางอ่านว่า มาหมะ (妈妈) คนแขก จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามี้” คนฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามอง” คนญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โอก้าซัง”
คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ออมม่า” คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แม๊” ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก
ดังนั้น คำว่า “แม่” เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ สูงส่งที่สุด เป็นคำที่ไพเราะกินใจเสมอสำหรับลูกๆ ทุกคน เป็นคำที่ประกอบไปด้วยศักดิ์ศรีและ
เกียรติภูมิอันมีค่าที่ลูกๆทุกคน ควรจะต้องเทิดทูนบูชาสักการะ และจะต้องควรระลึกอยู่เสมอ ในพระคุณของแม่ อย่างที่ไม่มีวันเสื่อมคลายลูกทุกๆ คนควรตอบแทนพระคุณพ่อแม่ หรือ ผู้ที่ให้การดูแล เลี้ยงดู เราเปรียบเสมือน
“ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์ เมื่อถึงเวลา ไม่ยอมออกดอกออกผล ก็ต้องโค่นทิ้ง
คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ แต่ไม่ยอมตอบแทนคุณพ่อแม่ก็เป็นคนหนักแผ่นดินทองคำ แท้หรือไม่โดนไฟก็รู้ คนดีแแท้หรือไม่ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่ ถ้าดีจริงต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยง แสดงว่าดีไม่จริง เป็นพวกทองชุบ ทองเก๊”

วันแม่แห่งชาติ

เรียงความวันแม่ : พระคุณของพ่อแม่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่าถ้าบุตรจะพึงวางบิดา มารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตน ประคับประคองท่านอยู่บนบ่านนั้นป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบนบ่านั้นเสร็จ แม้บุตรจะมีอายุถึง 100 ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด
ยัง มีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษยอดเขาพระสุเมรุแแทนปากกาน้ำในมหาสมุทรแทนหมึก เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร ภูเขาสึกกร่อนจนหมดน้ำในมหาสมุทรเหือดแห้งก็ยังบรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร สรุปโดยย่อคือ
1. เป็นต้นฉบับทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลายในโลกมีค่าสูงขึ้นตัวอย่างเช่น ก้อนดินเหนียวธรรมดาถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตาก็ทำให้ดิน ก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็นเครื่องประดับบ้านเรือนได้ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากได้แบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีกเช่นแบบเป็นพระพุทธรูปก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของ ดินเหนียวก้อนนี้ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้นผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแแบบที่พิมพ์นั่นเอง ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่นเป็นช้าง มัา วัว ควาย ฯลฯแม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใดก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่โชคดีที่ เราได้แบบเป็นคน ซึ่งเป็นโครงร่างที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายเหมาะในการทำความดีทุกประการ พระคุณของพ่อแม่ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เราก็นับว่ามีมากเหลือหลายแล้วยิ่ง ท่านอบรม เลี้ยงดูเรามาเป็นต้นแบบทางใจให้ด้วยก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกนันต์
2. เป็นต้นแบบทางใจให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอมอบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาทให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก


เรียงความวันแม่

เรียงความวันแม่ : คุณธรรมของลูก

เมื่อพ่อแม่มีพระคุณมากมายปานนี้ลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อ ท่านคุณธรรมของลูกเริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่คือรู้ว่าท่านดีต่อเราอย่างไร สูงขึ้นไปอีกคือตอบแทนคุณท่านในทางศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยาย คุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้นๆแต่จับความไว้ได้อย่างครบถ้วน
คือคำว่า “กตัญญูกตเวที” คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน 2 คำนี้
กตัญญู หมายถึงเห็นคุณท่านคือเห็นด้วยใจ ด้วยปัญญาว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าปากท่องพระคุณพ่อแม่ปาวๆไปเท่านั้น คุณของงพ่อแม่ดูได้ จากอุปการะคือประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้างที่แตกต่างจากคนอื่น ตามธรรมดาของคนทั่ว ๆ ไปเมื่อจะอุปกาะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือแต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้นเป็นการอุปการะโดยบริสุทธิ์ใจ จริง ๆไม่ได้มองถึงหลักประกันใด ๆ เลยเราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็เล่มเดียวยังไม่รู้เสีย ด้วยซ้ำว่าอวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ ได้เอาทีเดียวโตขึ้นมาจะเป็นอย่างไรจะเป็นคนอกตัญญูหรือไม่ไม่รู้ทั้งนั้น
หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียวระหว่างเรากับท่านก็ไม่มีแต่ทั้ง ๆที่ไม่มีท่านทั้งสองก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิตที่ยากจนก็ถึง กับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วยเรื่องเหล่านี้ต้องคิดดูด้วยเหตุผลอย่าสักแต่ คิดด้วยอารมณ์เท่านั้นการพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ด้วยใจอย่างนี้ถึง
เรียกว่า”กตัญญู” เป็นคุณธรรมเบื้องต้นของผู้เป็นลูก ยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไรแสดงว่าใจของเราเริ่มใสและสว่างมากขึ้นเท่านั้น
กตเวทีหมายถึงการทดแทนพระคุณของท่าน ซึ่งมีงานที่ต้องทำ 2 ประการ คือ
1. ประกาศคุณท่าน
2. ตอบแทนคุณท่าน

ดั่งคำกล่าวที่ว่า…

ลูกเอ๋ย…ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน
ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง ใจน้อยง่าย ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จิตใจก็หมดความสุขสดชื่น
ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่
เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน
อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น แต่จิตใจของท่าน หาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่ เจ้าจงจำไว้ว่า
การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริงก็คือ การให้ธรรมะ ด้วยการสอนหลักธรรมง่ายๆให้พ่อแม่ของเจ้า
พาท่านไปทำบุญทำทาน สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ธรรมะจะอยู่ใน
จิตใจของพ่อแม่เจ้าทุกภพทุกชาติ ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด
(สมเด็จโต พรหมรังสี)
ฟังเพลง เรียงความเรื่องแม่ คลิก
ขอบคุณข้อมูล (เรียงความวันแม่)
www.cmxseed.com
http://th.wikipedia.org

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

          “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป” (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา)
          “เศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy  คำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ. จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่…และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น”(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)
          เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
          อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ คำนิยามของความพอเพียงคือความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม
          ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง 

          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำ
“ถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น 
ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน. 
สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน 
แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน 
มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน 
หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ 
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง 
จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง 
เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้.” 
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)
ข้อมูลจาก www.okmd.or.th


หลักพิจารณาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้
          1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา 
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนา อย่างเป็นขั้นตอน
          2. คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้ 
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          3. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ 
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
          4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
          - เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
          - เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
          5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและสามารถพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้และเทคโนโลยี
          “ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ… 
จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป. 
          …หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ 
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ 
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน 
คือมีทางแก้ไขปัญหาเสมอ 
          …ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ 
แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ 
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ 
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน 
พอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่ดำเนินงานได้” 
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)
 ที่มาhttp://guru.sanook.com/4303/

ซอฟต์แวร์

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
 ที่มา  https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki-prapheth-xari-bang-cng-xthibay